วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สาร คืออะไร

1.สาร คืออะไร
              สาร หมายถึง  สิ่งที่มีองค์ประกอบอย่างเดียว  มีสมบัติเฉพาะตัว  ไม่สามารถแบ่งแยกให้เป็นส่วนอื่นๆ ที่มีองค์ประกอบและสมบัติต่างไปจากเดิมเช่น  อากาศ  เกลือ  น้ำตาล  เป็นต้นในการจำแนกสารต้องใช้เกณฑ์ ดังนี้   


      เกณฑ์ในการจำแนกสาร
         สถานะของสารแบ่งเป็น  3  สถานะ
               ของแข็ง : รูปร่างคงที่  อนุภาคเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบและอยู่ชิดกันมาก  มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมาก  อนุภาคเคลื่อนที่ไม่เป็นอิสระ
              ของเหลว : รูปร่างไม่คงที่ เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ  อนุภาคเรียงตัวกันอย่างไม่เป็นระเบียบและอยู่ไม่ชิดกันมาก  มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลไม่มาก  อนุภาคเคลื่อนที่ได้ในระยะสั้นๆ
              แก๊ส : รูปร่างไม่คงที่  เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ  อนุภาคอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ห่างกันมาก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย  อนุภาคเคลื่อนที่เป็นอิสระ
                                        

  ลักษณะเนื้อสาร  แบ่งเป็น  2 ประเภท  คือ
                 สารเนื้อเดียว  หมายถึง  สารที่มีเนื้อสารกลมกลืนกันมองเห็นเป็นเนื้อเดียวตลอด 
 เช่น  น้ำตาล  เกลือ เป็นต้น  โดยที่สารเนื้อเดียวมีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว
หรือมากกว่า 1 ชนิดก็ได้
                 สารเนื้อผสม  หมายถึง  สารที่มีเนื้อสารไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน  สามารถสังเกตและบอกได้ว่ามีสารองค์ประกอบมากกว่า 1  ชนิด  สมบัติของสารไม่เหมือนกันหมดทั่วทุกส่วน  เช่น  น้ำโคลน  เป็นต้น

                                     
             การละลายน้ำ  แบ่งออกเป็น  3  กลุ่ม  คือ
      สารที่ละลายน้ำได้ดี เป็นสารที่ละลายและผสมกลมกลืนกับน้ำได้ดี เช่น น้ำตาลทราย เป็นต้น
                  สารที่ละลายน้ำได้บ้าง  เป็นสารที่ประกอบขึ้นจากสารหลายชนิด  โดยสารบางชนิดสามารถละลายน้ำได้  แต่สารบางชนิดไม่สามารถละลายน้ำได้ เช่น  สบู่  เป็นต้น
                 สารที่ละลายน้ำไม่ได้  เป็นสารที่เมื่อผสมกับน้ำแล้วตั้งทิ้งไว้ให้อยู่นิ่ง  จะแยกตัวออกจากน้ำ  เช่น น้ำมัน  เป็นต้น
          ความเป็นกรด-เบส ของสารแบ่งเป็น  3  ประเภท
                   สารที่เป็นกรดคือ สารที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
                   สารที่เป็นเบสคือ สารที่เปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน
                   สารที่เป็นกลางคือ สารที่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส
          การนำไฟฟ้า ของสารแบ่งเป็น  2  ประเภท
                  สารที่สามารถนำไฟฟ้าได้    เรียกว่า    ตัวนำไฟฟ้า    เช่น   ลวด   แท่งเหล็ก เป็นต้น          
      สารที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้  เรียกว่าฉนวนไฟฟ้า เช่น ไม้ แก้ว ยาง พลาสติก เป็นต้น 
          การนำความร้อน  ของสารแบ่งเป็น  2  ประเภท
                  สารที่สามารถนำความร้อนได้  เรียกว่า ตัวนำความร้อน เช่น อะลูมิเนียม เหล็ก  เป็นต้น
                  สารที่ไม่สามารถนำความร้อนได้  เรียกว่า  ฉนวนความร้อน เช่น ไม้ พลาสติก   เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงของสาร เกิดขึ้นเมื่อสารได้รับพลังงานความร้อน (เพิ่มอุณหภูมิ) หรือคายพลังงานความร้อน (ลดอุณหภูมิ) ทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะ
           การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว  เกิดเมื่ออนุภาคของของแข็งได้รับความร้อน  ทำให้อนุภาคของของแข็งซึ่งเดิมจัดเป็นระเบียบเกิดการสั่น
           การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส  เกิดเมื่ออนุภาคของของเหลวได้รับความร้อน  ทำให้อนุภาคของของเหลว  เกิดการสั่น

การเปลี่ยนสถานะเมื่อสารได้รับความร้อน (เพิ่มอุณหภูมิ)
           - ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว          เรียกว่า             การหลอมเหลว
           - ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส                 เรียกว่า            การกลายเป็นไอ
           - ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส                   เรียกว่า            การระเหยการเปลี่ยน   
สถานะเมื่อสารคายความร้อน  (ลดอุณหภูมิ)
            - แก๊สเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว                 เรียกว่า            การควบแน่น
            - ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง          เรียกว่า             การเยือกแข็ง
            - แก๊สเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง                   เรียกว่า            การควบแน่น

            การละลายน้ำของสาร เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการนำสารตั้งแต่  2  ชนิดขึ้นไปมาผสมกันแล้วสารที่ผสมกันละลายเป็นเนื้อเดียว โดยที่สารที่มีปริมาณมาก  เรียกว่า  ตัวทำละลาย  และสารที่มีปริมาณน้อยเรียกว่า  ตัวละลาย


                             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น