วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สาร คืออะไร

1.สาร คืออะไร
              สาร หมายถึง  สิ่งที่มีองค์ประกอบอย่างเดียว  มีสมบัติเฉพาะตัว  ไม่สามารถแบ่งแยกให้เป็นส่วนอื่นๆ ที่มีองค์ประกอบและสมบัติต่างไปจากเดิมเช่น  อากาศ  เกลือ  น้ำตาล  เป็นต้นในการจำแนกสารต้องใช้เกณฑ์ ดังนี้   


      เกณฑ์ในการจำแนกสาร
         สถานะของสารแบ่งเป็น  3  สถานะ
               ของแข็ง : รูปร่างคงที่  อนุภาคเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบและอยู่ชิดกันมาก  มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมาก  อนุภาคเคลื่อนที่ไม่เป็นอิสระ
              ของเหลว : รูปร่างไม่คงที่ เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ  อนุภาคเรียงตัวกันอย่างไม่เป็นระเบียบและอยู่ไม่ชิดกันมาก  มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลไม่มาก  อนุภาคเคลื่อนที่ได้ในระยะสั้นๆ
              แก๊ส : รูปร่างไม่คงที่  เปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ  อนุภาคอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ห่างกันมาก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย  อนุภาคเคลื่อนที่เป็นอิสระ
                                        

  ลักษณะเนื้อสาร  แบ่งเป็น  2 ประเภท  คือ
                 สารเนื้อเดียว  หมายถึง  สารที่มีเนื้อสารกลมกลืนกันมองเห็นเป็นเนื้อเดียวตลอด 
 เช่น  น้ำตาล  เกลือ เป็นต้น  โดยที่สารเนื้อเดียวมีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว
หรือมากกว่า 1 ชนิดก็ได้
                 สารเนื้อผสม  หมายถึง  สารที่มีเนื้อสารไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน  สามารถสังเกตและบอกได้ว่ามีสารองค์ประกอบมากกว่า 1  ชนิด  สมบัติของสารไม่เหมือนกันหมดทั่วทุกส่วน  เช่น  น้ำโคลน  เป็นต้น

                                     
             การละลายน้ำ  แบ่งออกเป็น  3  กลุ่ม  คือ
      สารที่ละลายน้ำได้ดี เป็นสารที่ละลายและผสมกลมกลืนกับน้ำได้ดี เช่น น้ำตาลทราย เป็นต้น
                  สารที่ละลายน้ำได้บ้าง  เป็นสารที่ประกอบขึ้นจากสารหลายชนิด  โดยสารบางชนิดสามารถละลายน้ำได้  แต่สารบางชนิดไม่สามารถละลายน้ำได้ เช่น  สบู่  เป็นต้น
                 สารที่ละลายน้ำไม่ได้  เป็นสารที่เมื่อผสมกับน้ำแล้วตั้งทิ้งไว้ให้อยู่นิ่ง  จะแยกตัวออกจากน้ำ  เช่น น้ำมัน  เป็นต้น
          ความเป็นกรด-เบส ของสารแบ่งเป็น  3  ประเภท
                   สารที่เป็นกรดคือ สารที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
                   สารที่เป็นเบสคือ สารที่เปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน
                   สารที่เป็นกลางคือ สารที่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส
          การนำไฟฟ้า ของสารแบ่งเป็น  2  ประเภท
                  สารที่สามารถนำไฟฟ้าได้    เรียกว่า    ตัวนำไฟฟ้า    เช่น   ลวด   แท่งเหล็ก เป็นต้น          
      สารที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้  เรียกว่าฉนวนไฟฟ้า เช่น ไม้ แก้ว ยาง พลาสติก เป็นต้น 
          การนำความร้อน  ของสารแบ่งเป็น  2  ประเภท
                  สารที่สามารถนำความร้อนได้  เรียกว่า ตัวนำความร้อน เช่น อะลูมิเนียม เหล็ก  เป็นต้น
                  สารที่ไม่สามารถนำความร้อนได้  เรียกว่า  ฉนวนความร้อน เช่น ไม้ พลาสติก   เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงของสาร เกิดขึ้นเมื่อสารได้รับพลังงานความร้อน (เพิ่มอุณหภูมิ) หรือคายพลังงานความร้อน (ลดอุณหภูมิ) ทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะ
           การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว  เกิดเมื่ออนุภาคของของแข็งได้รับความร้อน  ทำให้อนุภาคของของแข็งซึ่งเดิมจัดเป็นระเบียบเกิดการสั่น
           การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นแก๊ส  เกิดเมื่ออนุภาคของของเหลวได้รับความร้อน  ทำให้อนุภาคของของเหลว  เกิดการสั่น

การเปลี่ยนสถานะเมื่อสารได้รับความร้อน (เพิ่มอุณหภูมิ)
           - ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว          เรียกว่า             การหลอมเหลว
           - ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส                 เรียกว่า            การกลายเป็นไอ
           - ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส                   เรียกว่า            การระเหยการเปลี่ยน   
สถานะเมื่อสารคายความร้อน  (ลดอุณหภูมิ)
            - แก๊สเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว                 เรียกว่า            การควบแน่น
            - ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง          เรียกว่า             การเยือกแข็ง
            - แก๊สเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง                   เรียกว่า            การควบแน่น

            การละลายน้ำของสาร เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการนำสารตั้งแต่  2  ชนิดขึ้นไปมาผสมกันแล้วสารที่ผสมกันละลายเป็นเนื้อเดียว โดยที่สารที่มีปริมาณมาก  เรียกว่า  ตัวทำละลาย  และสารที่มีปริมาณน้อยเรียกว่า  ตัวละลาย


                             

ผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้างที่มีสารเกี่ยวข้อง

2.ผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้างที่มีสารเกี่ยวข้อง
      สารปรุงแต่งอาหาร
         ความหมายสารปรุงแต่งอาหาร
สารปรุงแต่งอาหาร หมายถึง สารปรุงรสอาหารใช้ใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีรสดีขึ้น เช่น น้ำตาล น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ และให้รสชาติต่างๆ เช่น
       -  น้ำตาล   ให้รสหวาน
       -  เกลือ   น้ำปลา ให้รสเค็ม
       -  น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ ให้รสเปรี้ยว
        ประเภทของสารปรุงแต่งอาหาร แบ่งเป็น ประเภท คือ
            ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำส้มสายชู น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น
            ได้จากธรรมชาติ เช่น เกลือ น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก อัญชัน เป็นต้น
 เครื่องดื่ม
       เครื่องดื่ม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์จัดเตรียมสำหรับดื่ม และมักจะมี น้ำ เป็นส่วนประกอบหลัก บางประเภทได้คุณค่าทางโภชนาการ บางประเภทดื่มแล้วไปกระตุ้นระบบประสาท และบางประเภทดื่มเพื่อดับกระหาย แบ่งออกเป็น ประเภท ได้แก่ น้ำดื่มสะอาด น้ำผลไม้ นม น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ชาและกาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
        น้ำดื่มสะอาด
        น้ำดื่มสะอาด เป็นเครื่องดื่มที่ไม่สิ่งอื่นเจือปน เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ปัจจุบันน้ำดื่มสะอาดได้รับความนิยมมาก ผู้ผลิตมักจะบรรจุน้ำดื่มในขวดใสสะอาดแก้วที่สะอาด เหมาะสำหรับที่จะเสิร์ฟในร้านอาหาร หรือในงานเลี้ยงต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ที่ควบคุมน้ำหนักส่วนใหญ่มักจะเลือกเครื่องดื่มชนิดนี้แทนเครื่องดื่มที่มีรสหวานอื่นๆ
        น้ำผลไม้
น้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์มากอย่างหนึ่ง และต้องเป็นน้ำผลไม้ที่สดๆ จึงจะได้คุณค่ามาก ผู้ผลิตมักจะนำผลไม้ที่มีมากในฤดูกาลมาคั้นเอาแต่น้ำ นำมาเคี่ยวกับน้ำตาล หรือนำผลไม้สดมาปั่นผสมกับน้ำแข็ง น้ำเชื่อม จะได้รสชาติแปลกๆ หลายอย่าง
        สารทำความสะอาด
        ความหมายของสารทำความสะอาด
สารทำความสะอาด หมายถึง คุณสมบัติในการกำจัดความสกปรกต่างๆ ตลอดจนฆ่าเชื้อโรค
       ประเภทของสารทำความสะอาด แบ่งตามการเกิด ได้ ประเภท คือ
             ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำยาล้างจาน สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพูสระผม ผงซักฟอก สารทำความสะอาดพื้น เป็นต้น
  

                                   

      ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำมะกรูด มะขามเปียก เกลือ เป็นต้น
แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น ประเภท คือ
     สารประเภททำความสะอาดร่างกาย ได้แก่ สบู่ แชมพูสระผม เป็นต้น
     สารประเภททำความสะอาดเสื้อผ้า ได้แก่ สารซักฟอกชนิดต่างๆ
     สารประเภททำความสะอาดภาชนะ ได้แก่ น้ำยาล้างจาน เป็นต้น
     สารประเภททำความสะอาดห้องน้ำ ได้แก่ สารทำความสะอาดห้องน้ำทั้งชนิดผงและชนิดเหลว

ประโยชน์ของสาร

3.ประโยชน์ของสาร        
         สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้มนุษย์มีอาหารเพียงพอ และมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีเหมือนอย่างที่เราเห็นคุณภาพชีวิตประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น แต่ผู้คนจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันก็คิดว่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นสิ่งที่อันตรายจนไม่สามารถจะยอมรับได้ ทั้งต่อคนและสิ่งแวดล้อม จนเห็นว่าควรจะเลิกใช้สารเคมีเสียให้หมด
        ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องเท่านั้น จึงจะสามารถวิเคราะห์แยกแยะข้อถกเถียงของทั้งฝ่ายที่ต่อต้านและฝ่ายสนับสนุนได้ ประชาชนต้องการรับรู้ข้อมูล ประโยชน์ - ความเสี่ยง และกฎระเบียบการควบคุมของเจ้าหน้าที่รัฐ
        นโยบายด้านสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชควรจะอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงและเหตุผล ไม่ใช่การรับรู้ที่ไม่ถูกต้องและตัดสินจากความรู้สึกจากการสำรวจและรายงานเรื่องการผลิต และการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในเอเชีย 19 ประเทศ พบว่าความเสียหายต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปไม่ได้เกิดด้วยสารเคมีเอง แต่เกิดจากการใช้ที่ไม่ถูกต้อง ข้อมูลในสหรัฐอเมริกากล่าวว่า มีการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชในฟาร์ม 900,000 แห่ง และบ้านเรือน 70 ล้านครัวเรือน สมาพันธ์กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีเกษตรที่เรียกว่า Crop Life International ได้ชี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชดังนี้
·       ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ใช้ดินที่น้อยกว่า
·       รับประกันผลผลิตได้เต็มที่
·       ช่วยลดราคาอาหาร ด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า
·       ลดปัญหา โรคที่มากับน้ำและแมลงพาหะนำโรค
·       ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดการทำลายป่าเพื่อให้ใช้ที่ดินเพาะปลูก
·       ขจัดปัญหาความยากลำบากในการกำจัดวัชพืชด้วยมือ
·       ช่วยให้ประเทศที่กำลังพัฒนา เป็นประเทศผู้ผลิตอาหาร
·       ช่วยขจัดปัญหาศัตรูทำลายผลผลิตในโรงเก็บ